ช่วงนี้บ้านเราประสบปัญหาในเรื่องของน้ำท่วมกันเยอะมาก วันนี้เราเลยนำเรื่องของความรุนแรงของพายุมาฝากกัน

พายุที่เกิดขึ้นในบ้านของเรานั้น โดยส่วนมากแล้วจะเรียกกันว่าพายุโซนร้อน ซึ่งหลายๆครั้งก็ได้สร้างความเสียหายให้กับทั้งชีวิตและทรัพย์สินอยู่บ่อยครั้งเลยทีเดียว หลายคนอาจจะสงสัยในระดับความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น และอยากจะรู้กันว่า พายุนั้นอยู่ในความรุนแรงระดับใดจึงควรเฝ้าระวังกัน วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้ถึงความรุนแรงในแต่ละระดับของพายุกัน

Stormstrength

สำหรับพายุหมุนในเขตร้อนนั้น จะใช้เรียกกันสำหรับพายุหมุนที่มีการเกิดขึ้นเหนือมหาสมุทรหรือว่าทะเล ในเขตร้อนอย่างเช่นบ้านเรา หากพายุหมุนมีการเติบโตขึ้นอย่างเต็มที่แล้วละก็จะถือว่าเป็นพายุที่มีความรุนแรงมากที่สุดอีกประเภทหนึ่งบนโลกของเราเช่นกัน เส้นผ่าศูนย์กลางของมันนั้นจะอยู่ที่ราวๆ 100 กิโลเมตร จะเกิดขึ้นพร้อมกับมีลมพายุที่กรรโชกแรงค่อนข้างมาก หากเป็นในซีกโลกเหนือนั้นลมพายุจะพัดเวียนเข้าสู่จุดศูนย์กลางในรูปแบบของการทวนเข็มนาฬิกา แต่หากมีการเกิดพายุชนิดนี้ขึ้นในบริเวณซีกโลกใต้ จะมีการหมุนทวนของลมพายูเข้าสู่จุดศูนย์กลางในรูปแบบของการหมุนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางมากเท่าไหร่ความเร็วและความรุนแรงของลมนั้นก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยความเร็วที่เกิดขึ้นสูงสุด อาจจะมีความเร็วลมเกิน 300 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง หรือราวๆ 175 นอตเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีแรงกดอากาศต่ำที่เกิดขึ้นตามมาอีกด้วย โดยความกดอากาศต่ำที่เกิดขึ้นนั้นอาจมากถึง 900 เฮกโตปาสคาล ซึ่งหากเป็นพายุในลักษณะที่รุนแรงเช่นนี้ สภาพอากาศก็จะค่อนข้างเลวร้ายเลยทีเดียว มีทั้งฝนที่ตกหนัก ลมกรรโชกแรง พายุฟ้าคะนอง

Stormstrength

พายุหมุนในเขตร้อนนั้น จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ในบริเวณที่มีการเกิดพายุขึ้น ยกตัวอย่าง หากพายุเกิดขึ้นในบริเวณอ่าวเบงกอล หรือว่าในมหาสมุทรอินเดียนั้น จะถูกเรียกว่า “ไซโคลน” หากเป็นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ หรือในทะเลแคริบเบียน ทะเลทางด้านฝั่งตะวันตกของเม็กซิโก อ่าวเม็กซิโก ก็จะถูกเรียกว่า “เฮอร์ริเคน” ทางฝั่งทะเลจีนใต้  มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ(ตะวันตก)และใต้ จะถูกเรียกกันว่า “ไต้ฝุ่น”

พายุหมุนในเขตร้อนนั้น มีข้อตกลงระหว่างประเทศ ในการแบ่งระดับความรุนแรงของมัน ดังต่อไปนี้

1.พายุดีเปรสชั่น (DEPRESSION)

Stormstrength

จะเป็นพายุที่อยู่ในความรุนแรงระดับเล็กน้อย เป็นพายุที่มีกำลังอ่อนที่สุดในบรรดาพายุที่มีชื่อเรียกทั้งหลาย เป็นพายุฝนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากที่สุด ในแถบบ้านเรา ซึ่งหากเกิดนอกเหนือชายฝั่ง ในบริเวณมหาสมุทรหรือบริเวณทะเลลึก สามารถกลายเป็นพายุในระดับอื่นได้โดยจะมีความรุนแรงลมสูงสุดซึ่งอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางอยู่ที่ ไม่เกิน 63 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง หรือราวๆ 34 นอต

2.พายุโซนร้อน (TROPICAL STORM)

Stormstrength

จะเป็นพายุที่อยู่ในความรุนแรงระดับกลาง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้บริเวณจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ 63 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง แต่จะไม่เกิน 118 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง รุนแรงน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น แต่สูงกว่าพายุดีเปรสชั่นโดยอาจจะแปรสภาพมาจากพายุดีเปรสชั่น หรือแปรสภาพมาจากพายุไต้ฝุ่นที่อ่อนกำลังลงได้ได้ แต่ไม่ถือว่าเป็นพายุหมุน พายุชนิดนี้จะทำให้เกิดฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง น้ำท่วมรุนแรงได้

3.พายุไต้ฝุ่น หรือ เฮอร์ริเคน (TYPHOON OR HURRICANE )

พายุในประเภทนี้นั้น จัดได้ว่าเป็นพายุที่มีความรุนแรงลมสูงสุด โดยจุดศูนย์กลางของพายุนั้น คือ 118 กิโลเมตร ต่อชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งการเรียกพายุในประเภทนี้ก็ตามที่ได้ชี้แจงไปด้านบนว่าขึ้นอยู่กับสถานที่ๆมีการเกิดพายุขึ้น ในบางพื้นที่ก็อาจจะเรียกว่า พายุไซโคลน ได้เช่นกัน ซึ่งเคยเกิดเหตุพายุซุปเปอร์ไซโคลนที่พัดผ่านบ้านเรา เมื่อราวๆสามสิบกว่าปีที่แล้วขึ้นในขณะนั้นได้มีการพัดผ่านเข้ามาที่จังหวัดชุมพร มียอดผู้เสียชีวิตและสูญหายมากถึง 833 คน ด้วยกัน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

ความรุนแรงของพายุมีกี่ระดับ