ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

ภัยพิบัติ

 

การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลกในปัจจุบันสืบเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมนั้นถูกทำลาย จึงก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมนุษย์อย่างเรามาก และนับวันจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเหตุการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น ในแต่ละครั้ง เป็นสถานการณ์ที่ไม่ทันตั้งตัว

ภัยพิบัติ

 

ทักษะและประสบการณ์ ในการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งประเทศไทยเราก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ เช่น ภัยน้ำท่วม ดินถล่ม แผ่นดินไหว สึนามิ ภัยแล้ง ไฟป่า ฯลฯ ในขณะเดียวกันมีประชาชนจำนวนมากที่ไม่มีข้อมูลสำหรับการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ จึงไม่สามารถป้องกันและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเมื่อเกิดภัย

การเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดภัยพิบัติ

1. เตรียมพร้อมก่อนภัยจะมา สร้างแผนฉุกเฉิน เช่น หาวิธีแจ้งเหตุ กระจายข่าว เส้นทางอพยพ กำหนดจุดปลอดภัย และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
2. เตรียมพร้อมด้านร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสัตว์เลี้ยง รวมทั้งต้องซักซ้อมบ่อยๆ ในเรื่องการอพยพและการสื่อสาร
3. เตรียมปัจจัยสี่ จัดเป็นชุด ให้หยิบฉวยง่าย จัดเตรียมน้ำ ยารักษา อาหาร และของใช้ที่จำเป็น ใส่ถุงเป็นชุดๆ เก็บไว้ในที่ปลอดภัย
4. ติดตามฟังข่าวสารบ้านเมือง
5. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน

ภัยน้ำท่วม

1. ติดตามข่าวสาร และเชื่อฟังการประกาศ จากเจ้าหน้าที่
2. สับคัตเอาท์ไฟก่อนออกจากบ้าน แล้วอพยพจากพื้นที่น้ำท่วมสูงอย่างทันที อย่าห่วงทรัพย์สิน ต้องห่วงชีวิตตนเองและครอบครัวก่อน
3. โทนแจ้งสายด่วน 1669 หากพบผู้ถูกไฟดูด ให้การปฐมพยาบาลตามคำแนะนำ หากหัวใจหยุดเต้นให้รีบกดหน้าอกช่วยหายใจ
4. ห้ามลงเล่นน้ำหรือพายเรือเข้าใกล้สายไฟ และระวังอันตรายจากสัตว์มีพิษ และเชื้อโรคที่มากับน้ำ
5. หากดินลุยน้ำ หลังจากที่เข้าบ้านแล้วควรรีบล้างเท้าเพื่อทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง หากเท้ามีบาดแผลควรล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันโรคน้ำกัดเท้า
6. นำถุงพลาสติก ใส่ทรายหรือดินอุดท่อที่คอห่านและท่อน้ำทิ้งเพื่อป้องกันน้ำท่วมจากทางโถส้วม

ภัยจากน้ำท่วมเฉียบพลัน

1. ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่
2. สับคัตเอาท์ไฟก่อนออกจากบ้าน แล้วรีบอพยพขึ้นที่สูง โดยหลีกเลี่ยงแนวธารน้ำ ช่องระบายน้ำ
3. สวมเสื้อชูชีพตลอดเวลา ห้ามเดินฝ่ากระแสน้ำ และใช้ไม้ปักดินหรือพื้นเพื่อคลำทาง เพื่อสังเกตุว่าดินมีความตื้นลึกแค่ไหน
4. ห้ามขับรถฝ่ากระแสน้ำท่วมและถ้าหากน้ำขึ้นสูงรอบๆรถ ให้รีบออกจากรถ
5. อย่า เสี่ยงช่วยผู้อื่นหากอุปกรณ์ไม่พร้อม เพราะอาจจะไม่รอดทั้งคู่
6. โทรแจ้งสายด่วยฉุกเฉิน 1669 หากพบผู้บาดเจ็บ

ภัยจากดินโคลนถล่ม

1. หากฝนตกหนัก ให้สังเกตุสัญญาณเตือนภัยของเหตุดินโคลนถล่ม เช่น เสียงต้นไม้หัก หินก้อนใหญ่ตกลงมาและน้ำมีสีขุ่น
2. อพยพไปในที่สูงและมั่นคง ตามเส้นทางที่เตรียมการไว้ เมื่อได้รับสัญญาณเตือนภัย
3. ตั้งสติ ท่องไว้ รักษาชีวิตไว้ก่อน ทรัพย์สินไว้ทีหลัง นำของใช้ที่จำเป็นเฉพาะที่จำเป็นติดตัวไปก่อน
4. หากพลัดตกน้ำ หาต้นไม้ใหญ่เกาะแล้วรีบขึ้นจากน้ำให้ได้
5. หากหนีไม่ทัน ให้ม้วนตัวเป็นทรงกลมให้มากที่สุดเพื่อป้องกันศรีษะกระแทก

แผ่นดินไหว และสึนามิ

1. อพยพตามแผนของหมู่บ้าน ชุมชน หรือจังหวัด
2. หากออกเรือขณะที่เกิดสึนามิ ห้าม เข้าใกล้ชายฝั่งเด็ดขาดและให้อยู่ในบริเวณน้ำลึก
3. หากอยู่ในบ้านขณะเกิดแผ่นดินไหว รีบหมอบลงใต้โต๊ะที่แข็งแรง หากอยู่ภายนอกอาคาร ให้อยู่ในบริเวณที่โล่งไม่มีสิ่งกีดขวาง
4. ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก เพื่อป้องกันฝุ่นและสิ่งแปลกปลอม
5. หยุดรถ และจอดชิดขอบทาง อย่า ออกจากรถจนกว่าจะแน่ใจว่าปลอดภัย
6. เมื่อเหตุการณ์สงบลง เร่งตรวจสอบ ตรวจดูสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส อย่าเปิดใช้จนกว่าจะแน่ใจว่าปลอดภัย

ภัยจากพายุ

1. ฟังประกาศการเตือนภัย และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
2. ปิดประตูและหน้าต่างให้มั่นคง ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด
3. เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นเช่น เทียน ไฟฉาย ยาประจำตัว
4. ขณะฝนตกฟ้าคะนอง ห้ามอยู่ใต้ต้นไม้ เสาไฟฟ้า และห้ามโทรศัพท์เด็ดขาด
5. หากรู้ตัวว่าบ้านกำลังจะพังให้ห่อตัวเองด้วยผ้าห่ม หลบใต้โต๊ะ ใต้เตียงหรือที่แข็งแรงและมั่นคง

ภัยใกล้ตัวจากธรรมชาติ และข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น